ภาคกลาง โดยธรรมชาติภูมิประเทศเป็นที่ราบ
เหมาะสำหรับอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม
การแสดงจึงออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพ เช่น
เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลิเก ลำตัด กลองยาว
เถิดเทิง เป็นต้น
ที่มา : http://ziineqx.blogspot.com/2015/05/blog-post_3.html
เต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์
นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว
ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน
ผ่อนคลายจากความเหน็ด
โอกาสที่เล่น
เล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น
เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง
และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าวประมาณตะวันบ่ายคล้อยแล้ว การเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น
วิธีการเล่น
จะแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายชาย เรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว
โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อ ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป
ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจจะเปลี่ยนไปหลายๆ คน
ช่วยกัน ร้องจนกว่าจะจบเพลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
การแต่งกาย
ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย และเสื้อกุยเฮงสีดำ
มีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมงอบ และ จะไม่ใส่รองเท้า
ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอก สีดำหรือเป็นสีพื้นก็ได้
และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
ดนตรีที่ใช้ ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ
และร้อง เฮ้ เฮ้ว
ให้เข้าจังหวะ
ที่มา : https://sites.google.com/site/wattanathampage01/home/wattanathampage02
รำวง วิวัฒนาการมาจากรำโทน เพลงร้องได้มีการกำหนดท่ารำของแต่ละเพลงไว้โดยเฉพาะ
เช่น เพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอดสร้อยมาลาเป็นท่ารำ เพลงชาวไทยใช้ท่าชักแป้งผัดหน้า
เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญใช้ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ เป็นต้น เพลงรำวงที่กำหนดท่ารำโดยใช้ท่ารำแม่บทดังกล่าวนี้เรียกว่า รำวงมาตรฐาน นิยมในงานรื่นเริงแทนการเต้นรำ
และยังจัดเป็นชุดนาฏศิลป์ไทยที่นำไปแสดงเพื่อความบันเทิงได้อีกด้วย
การแต่งกายของผู้เล่นรำวง ผู้ชายแต่งชุดสากล
ผู้หญิงแต่งชุดเสื้อกระโปรง หรือชุดไทยพระราชนิยม
ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม
มีผ้าคาดเอว ผู้หญิงแต่งชุดไทย เป็นต้น
การเล่นรำวง
นอกจากจะเป็นที่นิยมของชาวไทยแล้ว ชาวต่างชาติก็ยังนิยมเล่นรำวงด้วยเพลง
รำวงที่ต่างชาติรู้จักและมักจะร้องกันได้ คือ เพลงลอยกระทง การเล่นรำวงจะเล่นได้ทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริงหรือมีการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในการนำนาฏศิลป์ไทยไปแสดงที่ต่างประเทศในบางครั้ง เมื่อจบการแสดงแล้วจะมีการเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติ ขึ้นมาร่วมรำวงกับผู้แสดงชายและหญิงของคณะนาฏศิลป์ไทย นับเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างคณะนาฏศิลป์ไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาชมการแสดง
อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะการเล่นรำวงให้แพร่หลายไปในนานาประเทศอีกด้วย
ที่มา : https://sites.google.com/site/naiyarinnoey/ra-klxng-yaw
รำกลองยาว ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว
หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า
พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง เมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน
และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุกบ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้
เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
การแต่งกาย
๑. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
๒. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ คาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่สร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้
โอกาสและวิธีการเล่น นิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้ เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นกันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วย
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตาม จำนวนผู้แสดงแบบนี้จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย เช่น
“มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า”
“ต้อนเข้าไว้ ต้อนเขาไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่าเอาไปหุงข้าวให้พวกเรากินตะละล้า”
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า”
ที่เรียกการเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกกันตามเสียงกลองยาว กล่าวคือมีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด – เทิง – บ้อง – เทิง – บ้อง” เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอื่น
เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
การแต่งกาย
๑. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
๒. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ คาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่สร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้
โอกาสและวิธีการเล่น นิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้ เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นกันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วย
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตาม จำนวนผู้แสดงแบบนี้จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย เช่น
“มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า”
“ต้อนเข้าไว้ ต้อนเขาไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่าเอาไปหุงข้าวให้พวกเรากินตะละล้า”
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า”
ที่เรียกการเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกกันตามเสียงกลองยาว กล่าวคือมีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด – เทิง – บ้อง – เทิง – บ้อง” เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอื่น
ที่มา : http://guru.sanook.com/4514/
https://thaidance.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น