ที่มา : https://sites.google.com/site/ajanthus/fxn-theiyn
ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม
ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว
จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม
เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง
ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่
แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา
และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง
การแต่งกาย ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น
และความจำกัดของสถานที่ โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ
คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์ คือ ถือเทียน ๑ เล่ม
การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้ ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ
คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม
และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม
แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย มีอุบะห้อยศีรษะ
โอกาสที่แสดง
ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา
ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา
ที่มา : https://sites.google.com/site/ajanthus/fxn-ngeiyw
ฟ้อนเงี้ยว เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่
ประกอบด้วย ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่
แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่ การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน
หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ
ฟ้อนเทียน
การแต่งกาย
จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง
โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า
หรือกางเกงขากว้างๆ หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า
สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู
โอกาสที่ใช้แสดง แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป
ที่มา : http://aseesnsd.blogspot.com/2016/03/blog-post_16.html
ฟ้อนเล็บ เป็นศิลปะการแสดงภาคเหนือที่มีความงดงาม
อ่อนช้อยลีลาการฟ้อนเล็บ จะแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงของผู้แสดง
เพราะการฟ้อนเล็บจะแสดงเป็นหมู่ การฟ้อนเล็บมักแสดงในงานมงคลต่าง ๆ
การแต่งกายของผู้เล่นฟ้อนเล็บ ผู้ฟ้อนนุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบ
ผมเกล้าแบบผมมวยสูง ติดดอกไม้ ห้อยอุบะ ปล่อยชายลงข้างแก้ม สวมเล็บยาวตรงนิ้วชี้
นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ
ที่มา : http://guru.sanook.com/4514/
https://thaidance.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น