คุณค่าของการแสดงพื้นเมือง


คุณค่าของการแสดงพื้นเมือง
เป็นสิ่งที่แสดงถึงความมีอารยธรรมและความเจริญงอกงามของคนในชาติ ซึ่งสามารถจำแนกคุณค่าของการแสดงพื้นเมืองเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
๑. คุณค่าด้านความบันเทิง ความเจริญเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการแสดงทุกประเภท เพราะการแสดงพื้นเมืองทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินทั้งจากลีลาท่าทางของผู้แสดง ความวิจิตรงดงามของเครื่องแต่งกาย ความงามสวยงามของฉาก
          คุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้านเป็นศูนย์รวมของงามศิลป์หลากหลายสาขา เช่น  ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ มัณฑนศิลป์ วิจิตรศิลป์ และขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามของท้องถิ่น
          คุณค่าด้านจริยธรรม เนื้อเรื่องของการแสดงส่วนใหญ่จะสะท้อน คติธรรมค่านิยมทางพุทธศาสนา การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เสริมสร้างคุณธรรม และจริยธรรม
          คุณค่าด้านความคิด การแสดง และการละเล่นพื้นบ้านหลายประเภท เป็นการแสดงความสามารถด้านคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ สอดแทรกคติสอนใจ และแนวคิดที่เป็นประโยชน์
          คุณค่าด้านการศึกษา การแสดงพื้นบ้านของภาคต่างๆ ก่อให้ประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม และความเชื่อของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น
          ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการแสดงพื้นบ้านของท้องถิ่นต่างๆ ทั่วทุกภาคในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานในการอนุรักษ์ และสืบทอดการแสดงพื้นบ้านของไทยไว้เป็นมรดกประจำท้องถิ่น และประจำชาติสืบไป นอกจากนี้ได้มีการดัดแปลง และสร้างสรรค์การแสดงพื้นบ้านขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีความเหมาะสม ทั้งลีลาท่ารำ และการแต่งกายเพื่อให้สวยงามและสอดคล้องกับยุคสมัย ซึ่งได้แสดงให้เห็นต่อไป
ที่มา : http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=19754

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

               การแสดงพื้นเมือง   เป็นการแสดงที่แสดงออกถึงการสืบทอดทางศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบทอดกันต่อ ๆ มาอย่างช้านาน ต...