ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ภาคอีสาน) ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง
มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง แบ่งตามลักษณะของสภาพความเป็นอยู่ ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน
ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี
การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง
สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง
เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ
เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น
ที่มา : https://pantip.com/topic/32074523
ฟ้อนภูไทเป็นการเล่นพื้นเมืองของชาวภูไทซึ่งเป็นคนไทยเผ่าหนึ่งที่อาศัยทางภาคอีสานแถบจังหวัดสกลนคร
นครพนม เลย และจังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ การฟ้อนภูไทนี้จะแสดงในพิธีมงคล
หรืองานบุญต่าง ๆ
การแต่งกาย ผู้แสดงหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นสีดำขลิบแดง นุ่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อสีดำขลิบแดง หรือแดงขลิบดำก็ได้ แต่ขลิบคอแขนและชายเสื้อ สวมเล็บมือแปดเล็บติดพู่สีแดง ผมเกล้ามวยผูกผมด้วยผ้าสีแดง
วงดนตรีประกอบ ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายผู้ไทของจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีลีลาและจังหวะเร็วกว่าลายผู้ไทของจังหวัดอื่นๆ
การแต่งกาย ผู้แสดงหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นสีดำขลิบแดง นุ่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อสีดำขลิบแดง หรือแดงขลิบดำก็ได้ แต่ขลิบคอแขนและชายเสื้อ สวมเล็บมือแปดเล็บติดพู่สีแดง ผมเกล้ามวยผูกผมด้วยผ้าสีแดง
วงดนตรีประกอบ ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายผู้ไทของจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีลีลาและจังหวะเร็วกว่าลายผู้ไทของจังหวัดอื่นๆ
ที่มา : https://supawadee1997.wordpress.com/
เซิ้งกระติบข้าว เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดี
และแพร่หลายที่สุดชุดหนึ่ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า
การแสดงของภาคอีสานมีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟ
ซึ่งแต่เดิมนั้น เซิ้งบั้งไฟในขบวนแห่ หรือเซิ้งในขบวนแห่ต่างๆ
ไม่มีท่าฟ้อนรำที่อ่อนช้อย
เป็นเพียงยกมือร่ายรำ(ยกมือสวกไปสวกมา)ให้เข้ากับจังหวะกลองและรำมะนาเท่านั้น
ดนตรี ใช้ลายเต้ยโขง
อุปกรณ์ กระติบข้าว
อุปกรณ์ กระติบข้าว
ที่มา : https://sites.google.com/site/naiyarinnoey/seing-ponglang
เซิ้งโปงลาง โปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง
โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก
ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว
ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง
เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง
ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด
และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทางส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้
พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ"
ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า "หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ" ชื่อ
"ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง"
และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด
และไม้หมากเหลื่อม
การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ
แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู
ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น
เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่
ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ
ที่มา : http://guru.sanook.com/4514/
https://thaidance.wordpress.com
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/?transaction=serngkratip.php
https://sites.google.com/site/naiyarinnoey/seing-ponglang
https://sites.google.com/site/naiyarinnoey/seing-ponglang
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น